หลักสูตร การสื่อสารเพื่อสร้างความไว้วางใจและเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง

 

            ความขัดแย้งเป็นธรรมดาของชิวิติ ไม่มีใครหลีกหนีความขัดแย้งพ้น  ดังนั้นแทนที่จะถามว่า เราจะอยู่โดยไร้ความขัดแย้งได้อย่างไร  คำถามที่เราควรใส่ใจมากกว่าก็คือ  เราจะจัดการกับความขัดแย้งได้อย่างไร  ความขัดแย้งนั้นจะเป็นคุณหรือเป็นโทษอยู่ที่การกระทำของเราเป็นสำคัญ  หาได้ขึ้นอยู่กับอีกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งไม่  หากเรามีท่าทีที่ถูกต้อง ความขัดแย้งนั้นก็สามารถก็ให้เกิดผลที่สร้างสรรค์และสร้างความไว้วางใจได้ 

           ดังที่หลักสูตร “Transforming Communication for building Trust  : การสื่อสารเพื่อสร้างความไว้วางใจและเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง”ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความขัดแย้งนั้นสามารถเป็นสะพานพาเราไปเข้าไปนั่งในใจของผู้อื่น  จนเกิดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ  อันนำไปสู่การสานสัมพันธ์ที่กระชับแน่น เปี่ยมไปด้วยความเป็นมิตร และความไว้วางใจ แต่จำทำได้เช่นนั้นได้ต่อเมื่อเรามีความมั่นคงทางจิตใจมากพอที่จะรับมือกับความขัดแย้ง  โดยเปิดใจรับรู้ความเป็นจริงด้วยใจที่เป็นกลาง  ไม่ตัดสิน  เท่าทันความรู้สึกและความคิดของตนเอง พร้อมทั้งใส่ใจกับความรู้สึก ความคิด และความต้องการของคู่กรณีด้วยความขัดแย้งไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไร พัฒนาการของมันล้วนขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี  และปฏิสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความขัดแย้ง  ได้แก่การสื่อสารระหว่างคู่กรณี การสื่อสารที่เต็มไปด้วยอารมณ์และอคติย่อมทำให้ความขัดแย้งลุกลามขยายตัวจนกลายเป็นความรุนแรง ในทางตรงกันข้าม การสื่อสารที่อิงอยู่กับข้อเท็จจริงและเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของอีกฝ่าย รวมทั้งตระหนักชัดในความต้องการของตนเอง  ย่อมช่วยให้เกิดการหันหน้าเข้าหากันและร่วมมือกันในที่สุด นอกจากนี้หากบุคลากรในองค์กรหรือผู้นำองค์กรสามารถใช้การสื่อสารอย่างสันติและสร้างความไว้วางใจได้ จะส่งผลให้ทีมงานเต็มใจที่จะสนับสนุนการทำงานของทีมและองค์กรอย่างเต็มที่และเต็มใจ ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รักษาและสร้างโอกาสทางธุรกิจในเชิงรุกมากขึ้น


วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจแนวคิดและความสำคัญของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการประสานงาน การบริการ ช่วยเหลือ สนับสนุน และสร้างความไว้วางใจสำหรับผู้นำ
  2. สามารถสร้างกลยุทธ์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจในการประสานงานและการทำงานร่วมกันให้มีความเข้าใจกันมากขึ้น
  3. เชื่อมรอยร้าว ผสานรอยต่อ และลดระยะห่างของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน / ทีมงาน / คนในองค์กรหรือลูกค้า ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในใจ อันเนื่องมาจากมุมมอง ทัศนคติ หรือวิถีปฏิบัติ (สไตล์การทำงาน / วิธีการพูด / รูปแบบการแสดงออกของแต่ละคน) ที่แตกต่าง


สิ่งที่จะได้รับเพิ่มเติม

ในบริบทของผู้นำ / การทำงานในองค์กร (leadership / workplace)

  • การสร้างความมั่นคงภายในแม้อยู่ท่ามกลางสภาพอารมณ์และบรรยากาศองค์กรที่สับสน วุ่นวาย และขัดแย้ง ทั้งของตัวเองและผู้อื่น
  • การสร้างความสมดุลระหว่างการใช้อำนาจและการมีส่วนร่วม เพื่อการทำงานที่มีชีวิตชีวาและสัมพันธภาพที่ดี
  • การรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในที่ทำงาน  เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันจนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ได้ทั้งใจและได้ทั้งงาน
  • การจัดการความขัดแย้งภายในตัวเองและกับผู้อื่น   เพื่อแปรเปลี่ยนให้เป็นพลังแห่งความสร้างสรรค์  และการเจริญเติบโตในการทำงานร่วมกัน
  • การพัฒนาและยกระดับจิตสำนึก  เพื่อการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ เป็นผู้นำที่มีพลัง และ สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เข้ามากระทบในแต่ละวัน

ในบริบทการพัฒนาตนเอง/ความสัมพันธ์ในครอบครัว (personal growth / family)

  • การคลี่คลายความขัดแย้งภายในตัวเองและกับผู้อื่นด้วยความนุ่มนวล
  • การสร้างความมั่นคงภายในแม้อยู่ท่ามกลางสภาพอารมณ์ที่สับสน วุ่นวาย และขัดแย้ง ทั้งของตัวเองและผู้อื่น
  • การเยียวยาและเรียนรู้ความเจ็บปวดภายในใจที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายอย่างมั่นคง
  • การพัฒนาและยกระดับจิตสำนึก ให้เจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ


เนื้อหาหลักสูตร (Content)

1.แนวคิด ความสำคัญ และกระบวนการ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

  1.1 แนวคิดและความสำคัญในการสื่อสาร

  1.2 บทบาทคนทำงานกับการสื่อสารเพื่อบริหารงาน บริหารทีมงานและองค์กร

  1.3 หลักการและกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

2.พัฒนาความมั่นคงจากภายใน เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการสื่อสารทุกสถานการณ์

2.1 Strategic heartbeat & Being


3.จิตวิทยาการสื่อสารสำหรับสำหรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพและให้การสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในองค์กร

3.1 การสื่อสารแบบตรงไปตรงมา vs. การตีความ

3.2 การสื่อสารแบบเข้าใจความรู้สึก vs. ความคิด

3.3 การสื่อสารแบบเข้าใจความต้องการ vs. วิธีการ

3.4 การสื่อสารแบบ การร้องขอ vs. การเรียกร้อง (สั่ง)

 

4.การสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับและให้คำแนะนำเพื่อให้ความช่วยเหลือ Feedback & Consult

4.1 การให้ข้อมูลย้อนกลับและให้คำแนะนำเพื่อให้ความช่วยเหลือด้วยเทคนิค WRI


5.การสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจทีมงาน

5.1 กระบวนการเกิดแรงจูงใจในตัวบุคคลผ่าน FLOW Model

5.2 เทคนิคการกระตุ้นจูงใจทีมงานด้วยเทคนิคของ Alexander After Action Review (AAR)

 


กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหาร/ผู้จัดการ/ หัวหน้างาน /ผู้ให้บริการ /  บุคลากรในองค์กรทุกระดับ

เทคนิควิธีการอบรม (Training Methods)

ใช้เทคนิคผสม (integration techniques) ที่ผสานกันอย่างลงตัวในการสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยมี 3 เทคนิคหลักที่สำคัญดังนี้

  • Training & Group Coaching คือ ศาสตร์ที่ผสานระหว่างการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบการบรรยาย การทำWorkshop และการโค้ชชิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ และเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเอง Adventure Life Based Leaning จนสามารถนำไปปฏิบัติ พัฒนาตนเองและองค์กร ได้อย่างยั่งยืนด้วยตนเอง
  • Action & Adventure Life Base Learning คือ เน้นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult learning) โดยการนำกิจกรรมเข้ามาขับเคลื่อนกระบวนการ ผสานกับการฝึกปฏิบัติ ภายใต้แนวคิด “เพลิน”(PLEARN = Play + Learn) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติต่างๆที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรด้วยความสนุกและผ่อนคลาย ผ่านกระบวนการการทำกิจกรรม แบ่งกลุ่มอภิปราย ระดมสมอง และวิเคราะห์กรณีศึกษา
  • Motivation Speaker Style ด้วยคุณสมบัติส่วนตัวและจุดเด่นของวิทยากรคือ การบรรยายในรูปแบบดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นและปลุกพลังให้ผู้เข้าอบรมตื่นตัวและอยากเรียนรู้ตลอดเวลา 

ระยะเวลาฝึกอบรม  จำนวน 2 วัน : 12 ช.ม. (เวลา 09.00-16.00 น.)

วิทยากรผู้สอน : อาจารย์อัครินทร์  ภูทองกลม วิทยากรและโค้ชผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดความไว้วางใจ (TRUST) และสร้างพลังของการเป็นผู้นำ

 

Visitors: 286,782