หลักสูตร เทคนิคการลดต้นทุนและกำจัดความสูญเปล่าด้วยหลัก 3 MU

          การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า ทำให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ

          เทคนิคการลดต้นทุนทั้งในและนอกกระบวนการผลิตมีอยู่หลายวิธี MUDA MURI  MURA เป็นเทคนิคแนวคิดของประเทศญี่ปุ่นในการบริหารงาน MUDA ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น MURI ความยากลำบากความไม่เป็นธรรมชาติ และ MURA ความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน ความหมายรวมคือการเปรียบเทียบระหว่าง จุดประสงค์ (สิ่งที่ต้องการ) กับวิธีการ (วิธีที่จะทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ) วิธีการต่างเกินไปน้อยเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดความสูญเปล่าได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ว่าจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขด้วยวิธีการง่าย ๆ  ได้อย่างไรและสามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น

          นอกจากนี้ปัญหาที่พนักงานต้องพบในแต่ละวันจะยิ่งทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจ ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานให้ง่ายขึ้น ยังมีเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้อีก เช่น ไคเซ็น คิวซีซี และ 7 Wastes ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้พิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้จริง และหากบริษัทใดพนักงานให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเหล่านี้ ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต  ลดปัญหาความเสียหาย  ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข  การรอคอยงานการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้กับบุคลากรภายในได้ เป็นต้น
  
          หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมองในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการผลิต อย่างเป็นระบบ
  • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
  • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างคุณภาพกับตัวสินค้าได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
  • เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
  • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
  • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม


หัวข้อการอบรม

  • การมองปัญหาของแต่ละบุคคล
  • ปัญหาที่เกิดจากการสื่อสาร
  • ความเป็นมาและความหมายของเครื่องมือคุณภาพ
  • วิธีการแก้ปัญหาด้วย ไคเซ็น
  • การแก้ไขปัญหา 7 Wastes ในเวลาการทำงาน
  • การแก้ปัญหาร่วมกันด้วยกลุ่มคุณภาพ QCC
  • เรียนรู้การใช้เครื่องมือ QC 7 Tools ในการวิเคราะห์รากเหง้าปัญหา
  • แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทำงานและสินค้า
  • ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มคุณภาพ Small group activity


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง
  • ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการขจัด 3 MU ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น


กลุ่มเป้าหมาย
    หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป


รูปแบบการสัมมนา

  1. การบรรยาย                                         40 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม        50%
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์  10 %


วิทยากรผู้สอน 
  อาจารย์ไมตรี   บุญขันธ์

Visitors: 287,419