การอบรมหลักสูตร การสอนงานและเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring) อาจารย์พากร อัตตนนท์

 
ผู้สอนงาน 
ที่มีประสิทธิภาพคือผู้ที่สามารถเลือกใช้วิธีการสอนงานได้อย่างสมดุลและกลมกลืน  ถูกต้องตามสถานการณ์  เหมาะสมตามบริบทของผู้ถูกสอน  
                 ที่สำคัญผู้สอนงานจำเป็นต้องมีจิตวิทยาในการสอนที่ดี  สามารถกระตุ้น โน้มน้าวและสร้างกำลังใจให้กับโค้ชชี่ที่จะปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยความเต็มใจ

หลักการและเหตุผล
         
เมื่อกล่าวถึง “Mentor”  คนทั่วไปจะคิดถึง Mentor ที่สอนงาน  Mentee ในหลายความหมาย  ยกตัวอย่างเช่น
  • การเป็น Mentor ด้วยการสอนงาน  (Teaching)  คือพูดให้ฟัง ทำให้ดู ฝึกฝน และนำไปปฏิบัติ
  • การเป็น Mentor ด้วยการให้ feedback เมื่อผู้ถูกสอนงานเกิดปัญหาในการทำงาน
  • การเป็น Mentor ด้วยการโค้ช คือ การถามคำถามให้ Mentee ได้ปรับทัศนคติและมีมุมมองใหม่ ๆ เพื่อค้นหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง 

หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เรียน

  • เข้าใจความหมายและแยกแยะความแตกต่างของการเป็น Mentor และ Coach
  • เลือกแสดงบทบาทและใช้วิธีที่ถูกต้องเหมาะสมกับ Mentee และสถานการณ์ (teaching หรือ feedback หรือ coaching)
  • สอนงานให้เข้าใจได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนและรู้เรื่องได้ง่ายๆ
  • สอนงานให้ Mentee ยินดีและเต็มใจที่จะนำสิ่งที่สอนไปใช้หรือแก้ไขปัญหาได้จริง
  • ให้ Mentor มีความตระหนักในบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยง  เพื่อการพัฒนาของ mentee อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน   

หัวข้อในการเรียนรู้


หลักพื้นฐานและทัศนคติของการเป็น Mentor ที่ดี
  • ความหมายของการเป็น Mentor
  • ความแตกต่างในแต่ละบทบาท ของการเป็น Mentor ได้แก่ การสอนงาน  การให้ feedback และการโค้ช  
  • จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละบทบาท
  • การเลือกใช้บทบาทในการเป็น Mentor อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • การปรับทัศนคติเพื่อการเป็น Mentor
เทคนิคการสอนงาน
  • หลักการ KUSA เพื่อการสอนที่มีประสิทธิผล
  • เทคนิค 3P เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการสอนได้ตลอดเวลา
  • เทคนิควิธีการสอนประเภทต่างๆ และการเลือกใช้ให้เหมาะสม
  • ขั้นตอนของการสอนที่ทำให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ
  • หลักการโน้มน้าวใจให้การสอนน่าเชื่อถือ
  • การสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้
เทคนิคการโค้ช (Coaching)
  • หลักการโค้ชและกรอบความคิดสำหรับโค้ช
  • การสร้างความสัมพันธ์ก่อนการโค้ช
  • ทักษะในการฟังอย่างเข้าใจ
  • การตั้งคำถามที่ทรงพลังเพื่อได้คำตอบที่ใช่
  • เครื่องมือต่างๆ สำหรับการโค้ชและการเลือกใช้
เทคนิคการให้ feedback
  • มื่อไรควรจะให้ feedback
  • การเลือกใช้เครื่องมือในการให้ feedback ที่เหมาะสม
  • เทคนิคการใช้จิตวิทยาในการให้ Feedback ที่ไม่กระทบความรู้สึก
  • สิ่งที่ทำได้ดีและก่อให้เกิดกำลังใจ
Follow up ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในการเป็น  Mentor
  • โค้ชชิ่งเพื่อให้เห็นมุมมองที่แตกต่าง
  • Perceptual Position เพื่อการมองเห็นตนเอง
  • Action Plan ใหม่กับก้าวเดินที่มั่นคงและยั่งยืน
               
       หลักสูตร การสอนงาน (Mentoring Idol)  อาจารย์พากร  อัตตนนท์

       ขอขอบคุณ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  ที่มอบความไว้วางใจให้ Challenge Training ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Mentor 
Visitors: 286,599